วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 10

อนุทินครั้งที่ 10
( 12 มีนาคม 2555) 

 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 

 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
  • ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรและอุปกรณ์) 
  • ซอฟต์แวร์ 
  • ข้อมูล
  • บุคลากร
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
  • การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่องข่าย

  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ  

1.ฝ่ายวิเคาระห์และออกแบบระบบ
ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ   เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ และเจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล 

2.ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ได้แก่ นักเขียนโปรแกรม 

3.ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ ได้แก่  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล   เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาเครื่อง 
และเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือตอบคำถาม


  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศแบ่งตามตำแหน่งงาน  
  •   ผู้บริหารสารสนเทสองค์กร
  •   ผู้อำนวยการศูนย์ computer
  •   หัวหน้าโครงการ
  •   นักวิเคราะห์
  •   นักเขียนโปรแกรม
  •   ผู้จัดการปฏิบัติการcomputer
  •   พนักงานปฏิบัติการcomputer
  •   พนักงานจัดเวลาการใช้เครื่อง
  •   พนักงานกรอกข้อมูล


  การบ้าน  


1.      อาชีพที่หายไปในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  นักพิมพ์ดีด คือพนักงานพิมพ์ข้อมูลด้วยเครื่องพิมพ์ดีด

2.       อาชีพใหม่ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   นักเขียนโปรแกรม 



อนุทินครั้งที่ 9

อนุทินครั้งที่ 9
( 5 มีนาคม 2555) 

 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย 

      การสื่อสารข้อมูลหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างการสื่อสารได้แก่ Work Station Modem Public Telephone Network Modem และ Server


     ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล มีทั้งการสื่อสารทางเดียว เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ หนังสือ วิทยุ การสื่อสารแบบ  Half Duplex คือ สลับหน้าที่กันในการสื่อสารและการสื่อสารสองทาง เช่นการคุยโทรศัพท์ video conference และการรับส่ง E-mail

       สัญญาณ แบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบอนาล็อคเป็นสัญญารที่มีความต่อเนื่องค่าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความถี่ และแบบดิจิตอลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยประเภทในการส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบขนานจะทำการส่งเป็นชุด ๆและแบบอนุกรม ( Serial Transmission ) จะส่งทีละ 1 บิต   สำหรับสาเหตุที่ทำให้การสื่อสารล้มเหลวได้แก่ มีการรบกวน มีการหน่วง สื่อผิดพลาด ความเข้มของสัญญาน และพื้นที่ในการรับส่ง

 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 

ให้บริการสะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้าไปเลือกดูและซื้อขายได้โดยง่าย
ประเภทของ e-commerceได้แก่ 

business to business (b2b) เป็นการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนนำไปผลิต

business to consumer (b2c) เป็นการสั่งซื้ออนไลน์ ส่งให้ถึงที่

business to goverment (b2g) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ

consumer to consumer (c2c)


 ประโยชน์ในการสร้างโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

1. เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
3. เพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
4. เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงของการทำงาน
5. เพื่อควบคุมจัดสรรทรัพยากร



 การบ้าน 

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) 
แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)

เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันแต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิตเอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้
ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit)
 ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส คือค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) การรับส่งอีเมล์ หรือบล็อค
      

 2. แบบซิงโครนัส (synchronous transmission)

เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง โดยต้องทำณ เวลานั้น โดยทำพร้อมกัน เช่น การแชท และการประชุมผ่าน Video Conferene การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมากและทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วใน
การส่งข้อมูล





อนุทินครั้งที่ 8

อนุทินครั้งที่ 8
( 27 กุมภาพันธ์ 2555) 

ระบบฐานข้อมูล (Database System)

     โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกันระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย



 ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมโดยการสังเกต จดบันทึก สัมภาษณ์ สอบถาม เป็นข้อมูลดิบที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกระทำเชิงการจัดการได้ การรวบรว
มามักไม่มีระเบียบและซ้ำซ้อนของข้อมูล


ฐานข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ และสามารถที่จะนำข้อมูลนั้น
ออกมาใช้ร่วมกันได้โดยไม่มีการซับซ้อนของข้อมูล


บิท (Bit)  คือหน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด


ไบท์ (Byte)   คือหน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)


เขตข้อมูล (Field)   คือหน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้ว
ได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 


ระเบียน (Record)  หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 


แฟ้มข้อมูล (File)  คือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลายๆระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน 






รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ


1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน


2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน 


3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร






ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล


1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง


2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)


3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย


4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น


5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ


6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม


7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง





ตัวอย่างฐานข้อมูล

         ฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด ฐานข้อมูลบัญชีธนาคาร  ฐานข้อมูลการลงทะเบียน ฐานข้อมูลATM
ฐานข้อมูลมือถือ ฐานข้อมูลในองค์กรได้แก่ ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลการฝึกอบรม
ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลผู้จัดส่ง ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลการขาย และฐานข้อมูลบัญชี 




อนุทินครั้งที่ 7

อนุทินครั้งที่ 7
( 13 กุมภาพันธ์ 2555)

Software
  ซึ่่งประกอบไปด้วย  


1. Software แบบเฉพาะด้าน ซึ่งไม่มีจำหน่ายทั่วไป  ได้แก่
    ซอฟท์แวร์ขององค์กรต่างๆ ธนาคาร มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล กรมสรรพกร การไฟฟ้า การประปา 
    สถานทูต หรือใช้ในการทำธุรกิจเช่น e-ticket และ e-book ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดสรรระบบการ   
    ทำงานให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ


2. Software แบบทั่วไป ประกอบด้วย
     - Microsoft office ได้แก่   Microsoft  Word   
                                              Microsoft  PowerPoint
                                              Microsoft  Excel 
                                              Microsoft  Outlook 
                                              Microsoft  Access
     
      - Graphics  ได้แก่   photoscape    photoshop    และ illustrator
     
      - Website  ได้แก่  Dreamweaver และ  Director

      - ด้านการสื่อสาร ได้แก่ Line  Viber  และ  Whatapps


            สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้้และจะนำไปประยุกต์ใช้ในวันนี้้คือ เรื่องของการคิดเลขโดยใช้สูตร 

การทำคะแนนและการตัดเกรดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ โดยในวันนี้อาจารย์นงลักษณ์

เป็นผู้สอนทำให้นิสิตมีความตื่นตัวตลอดเวลา มีการพูดคุยถามตอบกระตุ้นให้นิสิตได้แสดงความ

คิดเห็นได้เป็นอย่างดี







วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 6

อนุทินครั้งที่ 6
( 30 มกราคม 2555)

  ระบบคอมพิวเตอร์  



                                                               >> HARDWARE <<

อุปกรณ์รับข้อมูล
Keyboard, Mouse, Track Ball, Joystick, Scanner เครื่องอ่านบาร์โค้ด  เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง
 ปากกาแสง จอสัมผัส ไมโครโฟน เป็นต้น

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล  
หน่วยควบคุม CU ประกอบด้วย Address Word และ Instruction Word 
หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ ALU ทำหน้าที่คำนวณผลข้อมูล 
หน่วยความจำชั่วคราวที่ใช้เก็บค่าและข้อมูลต่างๆ เรียกว่า Registers
หน่วยความจำ MU เรียกว่าSecondary Memory / Storage Media ใช้ในการเก็บข้อมูล 

อุปกรณ์แสดงผล Output Devices 
จอภาพ Monitor 
เครื่องพิมพ์ Printer 
เครื่องวาดรูปพล็อตเตอร์
 เครื่องแสดงผลด้วยเสียง Sound Speaker เป็นต้น   


>> SOFTWARE <<

System Software
ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ OS ทำหน้าที่จัดการไฟล์จัดการหน่วยย่อยต่างๆในฮาร์ดแวร์
ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น 
    


Translation Program 
คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ

Assembler 
เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ

Interpreter 
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อย ๆ จนจบโปรแกรม 

Compiler
 เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง


Application Software
โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่
งตามที่ต้องการ 






คำถาม
นามสกุลไฟล์รูปภาพและไฟล์เสียง


ไฟล์รูปภาพ

(1) JPG , JPEG (.jpg ) 
เป็นไฟที่สามารถขยาย บีบอัดไฟล์ได้และคุณภาพก็พอประมาณ คือเหมาะจะนำไปใช้กับเว็บไซด์
สามารถใช้กับงานสิ่งพิมพ์บางงานที่ไม่เน้นคุณภาพมากนัก 

(2) GIF (.gif) 
เป็นไฟล์ที่จะถูกอัดบีบให้เล็กลง ความละเอียดคมชัดของภาพก็จะน้อยลงตามไปด้วยไม่เหมาะกับภาพถ่ายเนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีแค่ 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่คุณสมบัติที่แตกต่างออกไปคือสามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ หรือที่เรียกกันว่า GIF Animation 

(3) PNG (.png) 
สามารถบีบอัดไฟล์ได้เล็กอยู่ แต่ยังคงคุณภาพไว้มีระดับการใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี 
 คุณสมบัติบางอย่างจะคล้ายกับ GIF แต่คุณภาจะดีกว่า

(4) BMP (.bmp) 
ไฟล์นี้แสดงผลได้ถึง 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถนำไปเปิดใช้งานได้ในหลายโปรแกรม แต่คุณภาพไม่เท่า JPG 

(5) Photoshop (.psd) 
ไฟล์นี้จะดีมาก เวลาเซฟจะเซฟเป็นแบบแยกเลเยอร์ให้ สามารถนำกลับมาแก้ไขได้
ไม่สามารถใช้กับโปรแกรมอื่นๆ

(6) TIFF (.tif) 
เป็นสกุลที่มีความยืดหยุ่น คุณภาพที่สูงสุดๆ เซฟภาพได้ทั้งในโหมด GrayscaleIndex Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะมากสำหรับใช้ในการสื่อสิ่งพิมพ์ 

(7). EPS (.eps)
 ไฟล์นี้สามารถนำไปเปิดใช้ได้ในโปรแกรม Illustrator และก็ยังสามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector และ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone และ Bitmap 

(8). PICT (.pic)
 เป็นแบบมาตรฐานในการเซฟภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh. สามารถแสดงผลสีได้16.7 ล้านสี 
สามารถบีบอัดภาพได้เช่นกัน แต่แค่ซัพพอร์ตโหมด RGB เท่านั้น

(9). RAW (.raw)
 เหมาะสำหรับภาพถ่ายมากๆ สกุลนี้ ไม่มีการบีบอัดภาพ รายละเอียดต่างๆก็ยังครบถ้วยสมบูรณ์เลย
 ขนาดไฟล์ก็ใหญ่สุดๆปัจจุบันหาโปรแกรมเปิดไฟล์ชนิดนี้ยาก

(10). BMP (.bmp)
 ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน(คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก)


ไฟล์เสียง

(1). MIDI (.mid) ย่อมาจาก Musical Instrument Digital Interface 
เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถบันทึกเสียงร้องได้ เพราะเป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งที่ส่งไปให้อุปกรณ์ดนตรีแสดงเสียงออกมาตามข้อมูลที่อยู่ข้างในได้ ทำให้อุปกรณ์ดนตรีที่ต่างกัน เมื่อได้ทำงานกับไฟล์ midi อันเดียวกัน อาจทำเสียงออกมาไม่เหมือนกันก็ได้ไฟล์แบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก และแก้ไขได้ง่าย สามารถประยุกต์ให้ midi เหล่านี้ออกมาเป็นเสียงดนตรีจริงๆได้ ดังนั้นคุณภาพเสียงที่อ่านได้จาก midi จะดีแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับ sound card (support midi) หรือ อุปกรณ์+software ประเภทsynthesizer  
                                                            
(2). WAVE (.wav) 
เป็นไฟล์เสียงที่ได้มาจากการบันทึกเสียง แล้วเก็บไว้ในระบบดิจิตอล ทำให้เราสามารถนำไฟล์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆต่อได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งเสียง ผสมเสียง หรือ convert ไปเป็นไฟล์เสียงประเภทอื่นๆได้ (เมื่อทำงานร่วมกับ software) ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ เพราะสามารถเก็บความละเอียดไว้ได้มากเท่าที่เราต้องการโดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล (นอกจากว่าจะมาปรับแต่งทีหลัง) เป็นไฟล์เสียงประเภทหนึ่งที่มักจะพบในวงการดนตรีมาก     
                                                                               
(3). CD Audio (.cda)
 เป็นไฟล์เสียงที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี ใช้เล่นกับเครื่องเสียงทั่วไป ไฟล์ประเภทนี้มีความคมชัดของสัญญาณมาก เพราะไม่มีการบีบอัดข้อมูล เพียงเข้ารหัสในระบบ Linear PCM เป็นไฟล์ .cda ที่มักจะตั้งค่าการเก็บข้อมูลเสียงโดยการสุ่มและแปลงสัญญาณไว้ที่ 44,100 ครั้งต่อวินาที ปกติคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถอ่านไฟล์นี้ได้โดยตรง ต้องเล่นผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องเสียง , ซีดีรอม หรือ software บางชนิด                                                                     

(4). MP3 (.mp3) 
เป็นที่นิยมมากในหมู่นักฟังเพลงทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเป็นไฟล์เสียงที่ถูกบีบข้อมูลให้เล็กลงจากสัญญาณเสียงจริงได้ถึง 10 เท่า โดยเราสามารถเลือกความละเอียดของการเข้ารหัสได้ ทำให้คุณภาพเสียงของไฟล์ประเภทนี้ที่บีบอัดข้อมูลไม่มากนัก มีคุณภาพดีใช้ได้เลยทีเดียว (bitrate 128 Kbps) และเนื่องจากความเล็กของไฟล์ประเภทนี้ทำให้เป็นที่นิยมในการส่งไฟล์นี้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกันด้วย     
                                                                                               
(5). WMA (.wma) 
เป็นไฟล์เสียงที่ บ.ไมโครซอฟท์ คิดขึ้นมาให้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Windows Media Player ของระบบวินโดว์ สามารถฟังเสียงผ่านระบบ streaming ได้ คือ ดาวน์โหลดข้อมูลไปด้วย พร้อมกับถอดรหัสเสียงให้ฟังไปพร้อมๆกันเลย โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดครบ 100% ส่วนคุณภาพเสียงนั้นมีความละเอียดสูงไม่แพ้ mp3 128 Kbps เลย แต่จะมีขนาดเล็กกว่า mp3 ที่ความละเอียดเสียงพอๆกัน เพราะเข้ารหัสแบบ bitrate 64 Kbps (ครึ่งเดียว) ปัจจุบันเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ได้หันมารองรับไฟล์ระบบนี้มากขึ้นแล้ว  
                                      
(6). Real Audio (.ra)
 เป็นไฟล์เสียงที่ทำงานคู่กับโปรแกรม Real Player เน้นการทำงานแบบ Streaming สามารถฟังเสียงและดูภาพขณะกำลังดาวน์โหลดข้อมูลได้พร้อมๆกันเลย มีหลายความละเอียดให้เลือกหลายระดับ เป็นที่นิยมในหมู่นักดูหนังฟังเพลงในอินเตอร์เน็ตมาก    
                      
(7). Streaming Format (.asf)
 เป็นไฟล์เสียงหนึ่งที่มีรูปแบบ Streaming ที่เน้นส่งข้อมูลเสียงแบบ real time ใช้กันมากในการฟังวิทยุออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต                                                                 

(8). Audio Interchange File Format (.aif , .aiff)
 เป็นไฟล์ลักษณะคล้ายไฟล์ Wave แต่ใช้สำหรับเครื่อง Macintosh  
                                                                                                                                
(9). ACC (.acc)
 เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงมาก สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital หรือ AC-3

ที่มา : http://blog.eduzones.com/ditsapol/14099 

อนุทินครั้งที่ 5

อนุทินครั้งที่ 5
( 23 มกราคม 2555 )

ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


 >> ประเภทของคอมพิวเตอร์ << 


แบ่งตามลักษณะข้อมูล 

คอมพิวเตอร์อนาลอก (Analog Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ประมวลผลแบบต่อเนื่อง อยู่ในรูปความถี่ต่อเนื่องแต่ไม่คงที่  

คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) 
เ้ป็นคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบไม่ต่อเนื่อง เป็นข้อมูลสามารถนับได้แน่นอนนับทีละ 1 หน่วย   

คอมพิวเตอร์ไฮบริด (Hybrid Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์อนาลอกและคอมพิวเตอร์ดิจิตอล ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม 

แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน  

คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป (General - Purpose Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามรถใช้กับงานหลายด้านในเครื่องเดียวกัน 

คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special - Purpose Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานเฉพาะงานใดงานหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 

แบ่งตามขนาด 

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)     

มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) 

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

       




  >> องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ <<


ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
       มี 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำสำรอง


                                                                  ซอฟต์แวร์ (Software) 
          ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ส่งให้หน่วยย่อยๆในฮาร์ดแวร์ทำงานโดยชุดคำสั่งถูกเขียนด้วยโปรแกรมภาษา ที่เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของหน่วยงานต่างๆในฮาร์ดแวร์ให้ทำงานประสานกัน

ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานไว้แล้ว เช่น สามารถนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้งานของตนเองได้


บุคลากร (Peopleware) 

     ประกอบด้วย 3 ฝ่ายงาน คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ Human Error, Data Error, Program Logic Error


ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure
ขั้นตอนการเข้าลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินผลการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้บริการจองใช้ทรัพยากรอาคารเรียนรู้ สำนักห้องสมุด มก. การสื่อสารข้อมูล


ระบบเครื่อข่าย (Data Communications and Network System) 
เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลางจะเชื่อมต่อผ่านช่องทางการสื่อสารอาจเป็นแบบใช้สายหรือไร้สาย ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยช่องทางโทรคมนาคม เครือข่าย (Network) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ เครือข่ายระยะใกล้ (LAN) เครือข่ายระหว่างเมือง (MAN) และเครือข่ายระยะไกล (WAN)





คำถาม
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้างและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีทั้งหมด 6 ส่วนได้แก่

1. ฮาร์ดแวร์
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คำนวณ หรือพิมพ์รายงานได้ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนืองสามารถบันทึกแล้วเรียกกลับมาใช้ได้อีก 

2. ซอฟต์แวร์
 คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์กำหนด คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 

3.บุคลากร
 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมาก เพราะบุคลากรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

4. ข้อมูล 
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันอย่างไร ขึ้นกับสารสนเทศที่เราต้องการ เช่น ในการทำงานบริษัทมักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน คู่แข่งขัน ความต้องการทางการตลาด 

5. ขั้นตอนกระบวนการ 
เป็นวิธีการปฏิบัติงาน เช่นอย่างการที่เราต้องการประเมินการเรียนการสอนทางอินเตอร์เน็ต เราก็ต้องเข้าระบบประเมิน แล้วก็ทำการประเมิน  

6. เครือข่าย  
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้ช่องทางต่าง ๆเช่น เครือข่ายไร้สาย โทรคมนาคม

โดยทั้ง 6 ส่วนจะทำงานสัมพันธ์กันโดยการทำงานของระบบสารสนเทศจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้


อนุทินครั้งที่ 4

อนุทินครั้งที่ 4
( 16 มกราคม 2555 )


" Knowledge Management  "
(KM)

        ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตาม
ความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ



Data   >   Information   >   Knowledge   >   Wisdom

        เป็นการใช้คอมพิวเตอร์บัทึกข้อมูลสามารถเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ และเป็นการนำความรู้ที่
จัดเก็บไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทำให้เกิดผลดีขึ้น



>> ระบบสารสนเทศ <<

           ระบบสารสนเทศ หมายถึง การทำงานร่วมกันอย่างสัมพันธ์กันของแต่ลงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการนำข้อมูลเข้า  จัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลจนกลายมาเป็นสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจหรือใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นระดับบุคคลหรือระดับองค์กร


 >>       การจัดการความรู้    <<

      การจัดการความรู้ คือ กระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่เน้นการพัฒนาการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ คนแต่ละคนสามารถพัฒนาความรู้ได้ คนภายในองค์กร สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับฐานความรู้ และทรัพยากรบุคคลในองค์กร


                                                        >>   กระบวนการจัดการความรู้   << 


            เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้น


1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร 
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ไม่ได้ใช้
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต 
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ 
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
7. การเรียนรู้  เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้



สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในวันนี้ 
  • ความรู้จะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ตีความ
  • ความรู้โดยนัย คือ ทักษะส่วนบุคคลและความรู้เฉพาะตัว
  • ความรู้ที่ชัดแ้จ้ง คือมีลายลักษณ์อักษรชัดเจน
  • Facebook Blog Webboard สามมารถใช้ในการจัดการความรู้ได้ดี
  • การมีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดีสามารถช่วยลดความผิดพลาดและไม่เกิดการสูญหาย

          


  ความคิดเห็น  
อาจารย์ได้มีการนำความรู้อื่นๆและเรื่องเล่าที่สอดคล้องกับเนื้อหามาพูดให้ฟัง
ทำให้น่าสนใจและเข้าใจในเรื่องนั้นๆได้ง่ายขึ้น



วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่  3
 ( 9 มกราคม 2555 )
         สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในวันนี้คือเรื่อง ระบบสารสนเทศในองค์กร
 โดยในองค์กรต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) 
การบริหารจัดหารประกอบด้ว 4 M ได้แก่
man                 =   มนุษย์
management  =   การจัดการ
money            =   เงิน
material          =    เครื่องมือ

องค์กร    คือ   ส่วนประกอบของหน่วยใหญ่ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นตรงต่อกัน
องค์การ  คือ   ศูนย์กลางของกิจการที่รวมกันขึ้นเป็นหน่วยใหญ่ หรือหลายๆองค์กรรวมกันเป็นองค์การ

       ได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศ ความแตกต่างของข้อมูลกับสารสนเทศ และประเภทของการประมวลผลข้อมูลโดย

ลักษณะของการดำเนินงานในการประมวลผลมีดังนี้
1.  Manual Data processing        มนุษย์เป็นหลักในการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่ รับ แปลง และจัดข้อมูล
2.   Electronic Data processing   เป็นการประมวลผลแบบอัตโนมัติควบคุมด้วยหน่วยประมวลผลกลาง

ช่วงเวลาในการประมวลผล ประกอบด้วย
1.การประมวลผลแบบ  Batch     เก็รวบรวมบข้อมูลให้มากพอถึงเวลาที่กำหนดจึงทำการประเมินผล
2.การประมวลผลแบบ Online     เป็นการประมวลผลทันทีที่รับข้อมูลเข้ามา เช่น เครื่อง ATM
3.การประมวลผลแบบ Realtime เป็นการประมวลผลทันทีที่เกิดข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ไม่มีผู้ป้อนข้อมูล


 แนวคิดการบริหารจัดการในองค์กรยุคสารสนเทศ

นวัตกรรมระบบสารสนเทศแบ่งออกได้ 3 ระยะ
1.   ประดิษฐ์คิดค้น
2.   การพัฒนา
3.   การนำระบบสารสนเทศไปใช้
การจัดการแนวใหม่ในยุคสารสนเทศ
1.   ต้องมีระบบการจัดการที่ดี
2.   มีการจัดการโครงสร้างองค์กรที่คล่องตัว โดยมี IT ช่วยในการสับสนุนการบริหาร บริการและดำเนินงาน
3.   การเสริมอำนาจคนงานให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันโดยพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน

โครงสร้างองค์กรสารสนเทศ

แบ่งตามบทบาทหน้าที่ 4 ระดับได้แก่ 
1.  บุคลาการระดับปฏิบัติการ
2.  ผู้บริหารระดับต้น
3.  ผู้บริหารระดับกลาง
4.  ผู้บริหารระดับสูง


ระบบสารสนเทศในองค์กร

1.   ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Systems: TPS)
      บุคคลระดับปฏิบัติการนำข้อมูลมาตรวจสอบก่อนที่จะนำเข้าสู้ระบบ
 2.   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
      ผู้บริหารระดับต้นนำสารสนเทศมาใช้
3.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
      ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์แล้วส่งต่อให้ผู้บริหาร
4.    ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS /  ESS)
       ช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.    ระบบเชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (Expert Systems: ES)
       จัดทำข้อมูล และประมวลผลเลียนแบบสมอง
6.     ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS)
       สำนักงานอัตโนมัตทำงานร่วมกับอุปกรณ์พ่วง คอมพิวเตอร์

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
การบริหารอาชีวศึกษามีภารกิจหลักดังนี้
1.   บริหารงานบุคลากร  การคัดเลือกคนเข้าทำงาน
2.   บริหารงานธุรการ งานสารบรรณ งานพัสดุ  และหนังสือเวียน
3.   บริหารการเงินและการบัญชี
4.   บริหารงานวิชาการ  การฝึกอบรม การเก็บข้อมูลนักเรียน
5.   บริหารแผนงานประกันคุณภาพ  และประกันคุณภาพในรูป ISO
     

       การเรียนในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักระบบการจัดการสาารสนเทศมากยิ่งขึ้นโดยอาจารย์ได้มีการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจชัดเจนมากขึ้น โดยเนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างเยอะ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

คำถาม   : มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษาหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  :  มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษา
       

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 
มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
       

หมวด 6 
       
        กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยแยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน  และการประกันคุณภาพภายนอก  การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องภายในของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำเองโดยความ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่การประกันคุณภาพเป็นการดำเนินงานโดย หน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ  และมีความเป็นกลาง  และมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินเปรียบเทียบมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและ ดำเนินการเปรียบเทียบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น
          ตัวชี้วัดที่จะวัดมาตรฐานการศึกษาและกระบวนการประเมิน  เป็นสาระสำคัญที่หน่วยงานประเมินและประกันภายนอกจะต้องดำเนินการต่อไปใน อนาคตเมื่อได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนี้ในระดับกระทรวง  แต่หมวดนี้จะยังไม่กล่าวถึงโดยจะกล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพดังกล่าว  และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้เท่านั้น
 รายละเอียดดังในมาตรา ต่อไปนี้
       
มาตรา 47
ให้ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก
       
มาตรา 49 
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำ หน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการ ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน คำว่ามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน  หมายความว่า จะต้องจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเป็นองค์กรมหาชน  ซึ่งมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน วางหลักเกณฑ์การจัดตั้ง  และกำหนดสถานภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระขององค์กรประเภทนี้องค์กรนี้ทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงเกณฑ์ของ "มาตรฐาน"  และจะต้องมีรายละเอียดของตัวชี้วัดด้วย
       
  ในพระราชบัญญัติกล่าวถึงมาตรฐานไว้ดังนี้

มาตรา 33 
สภาการศึกษาฯมีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ซึ่งจะเป็นมาตรฐานระดับกว้าง  
ครอบคลุมทุกระดับ

มาตรา 34
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีหน้าที่พิจารณาเสนอ"มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาในมาตรา 33 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็มีหน้าที่พิจารณา "มาตราฐานอุดมศึกษา"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาฯ
ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานตามมาตรา 49 เป็นบทบาทหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับหน่วยงานตามมาตรา33 และมาตรา 34
การกำหนด "มาตรฐาน" ดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับใดจะต้องสอดคล้องกับ
"ความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้"ในวรรค 2 ของมาตรา 49 กำหนดให้สำนักงานประเมินคุณภาพภายนอก
ทุกๆ 5 ปีและรายงาน

มาตรา 50
ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือ หน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษานั้น


มาตรา 51
ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับ ปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข





 แหล่งที่มา  http://www.moobankru.com/knowledge1.html

Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา 
Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) 

ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทั้งหมด 16 ข้อ

1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4.   ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
      พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.   ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
      งานอาชีพของตนเองได้
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.   ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
        บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง
11.   ต้องให้ข้อมูลความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพและต้องมาจากประสบการณ์ของ
         ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
         นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
         เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
         โดยรวมต่อสังคม
14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
          ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
          มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า



โดยนำหลักทั้ง 16 หลักมาจัดเข้ากระบวนการ Input Process และ Output ได้ดังนี้  


Input

4.    ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
       พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.    ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
       งานอาชีพของตนเองได้
7.    ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอนทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
       บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11.   ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของ
        ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
        นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
        เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
        โดยรวมต่อสังคม
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
         ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
         มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า




Process


1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง



Output

14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา




ที่มา :  http://ltt.edu.ku.ac.th/LTT4/22Ebook/MIS_pdf/B2.pdf

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบเชิงบวกและลบของคอมพิวเตอร์

 ผลกระทบที่เป็นเชิงบวก
- ช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

- ช่วยในด้านของการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล และประมวลผล

- คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเรื่องการเรียนรู้และพัฒนางานด้านต่าง ๆ

- ทำให้มนุษย์ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันต่ิิอข้อมูลข่าวสาร และทันโลก 

- ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

- ช่วยให้มนุษย์เกิดความสะดวกสบายต่อการทำสิ่งต่างๆ

- พัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น 

- ช่วยให้การเรียน การทำงาน ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

- เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม

- สามารถช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

- ให้ความบันเทิงช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง

 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆได้แก่

1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน


4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น

5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น



  ผลกระทบที่เป็นลบ

- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่างๆ

- ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมลง 

- ทำให้เกิดความขัดแย้ง

- ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านข้อมูล

- ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์

- ทำให้มนุษย์ยึดติดแต่ความสะดวกสบาย



ที่มา   http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/athiga_p/com_p5
         /com01p03.html
          http://guru.sanook.com/answer/question/ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์/

กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม

MIS มีความสำคัญกับอาชีวศึกษาอย่างไร 
 
ตาม พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 “การอาชีวศึกษา” หมายถึง กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี  และพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้น MIS จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคล มีระบบพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีการใช้ ICT ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนการเรียนรู้อาชีวศึกษา บริหารจัดการอาชีวศึกษาและให้บริการทางอาชีวศึกษา


 
วิเคราะห์สภาพปัญหาMIS ที่เกิดกับ สอศ.

1. ด้านระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
-   ต้องใช้เวลาในการดาเนินงาน
-   การกระจายของระบบย่อย ขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
-   ข้อมูลบางอย่างยังไม่เป็นสารสนเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้
-   ขาดการประสานงานในแต่ละหน่วยงานร่วมกัน
-   ความซ้าซ้อนของข้อมูล
-   ยังไม่มีข้อมูลที่สนองตอบความต้องการแต่ละหน่วยงานอย่างเพียงพอ
2. ด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในปัจจุบัน
3. ด้านความต้องการระบบสารสนเทศ



จงอธิบายกระบวนการทำงาน
ของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

 
 
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
 

มีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้ เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

 
 
 
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

                               
                                     ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนหารทำงานหลักๆดังนี้
 
ขั้นตอนที่ 1 : การนำข้อมูลเข้า (Input)  
เป็นการนำข้อมูลดิบ(Data)ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลให้เป็นสารสนเทศ
 
ขั้นตอนที่ 2 : .การประมวลผลข้อมูล (Process) 
เป็นการคิด คำนวน หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดเป็นรูปแบบ และการเปรียนเทียบ ตัวการประมวลผล
 
ขั้นตอนที่ 3 : .การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
 
ขั้นตอนที่ 4 : การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึง นำไปประมวลผล หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบ กับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต