วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา 
Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) 

ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทั้งหมด 16 ข้อ

1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4.   ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
      พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.   ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
      งานอาชีพของตนเองได้
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.   ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
        บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง
11.   ต้องให้ข้อมูลความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพและต้องมาจากประสบการณ์ของ
         ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
         นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
         เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
         โดยรวมต่อสังคม
14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
          ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
          มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า



โดยนำหลักทั้ง 16 หลักมาจัดเข้ากระบวนการ Input Process และ Output ได้ดังนี้  


Input

4.    ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
       พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.    ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
       งานอาชีพของตนเองได้
7.    ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอนทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
       บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11.   ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของ
        ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
        นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
        เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
        โดยรวมต่อสังคม
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
         ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
         มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า




Process


1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง



Output

14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา




ที่มา :  http://ltt.edu.ku.ac.th/LTT4/22Ebook/MIS_pdf/B2.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น