วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่  3
 ( 9 มกราคม 2555 )
         สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในวันนี้คือเรื่อง ระบบสารสนเทศในองค์กร
 โดยในองค์กรต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) 
การบริหารจัดหารประกอบด้ว 4 M ได้แก่
man                 =   มนุษย์
management  =   การจัดการ
money            =   เงิน
material          =    เครื่องมือ

องค์กร    คือ   ส่วนประกอบของหน่วยใหญ่ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นตรงต่อกัน
องค์การ  คือ   ศูนย์กลางของกิจการที่รวมกันขึ้นเป็นหน่วยใหญ่ หรือหลายๆองค์กรรวมกันเป็นองค์การ

       ได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศ ความแตกต่างของข้อมูลกับสารสนเทศ และประเภทของการประมวลผลข้อมูลโดย

ลักษณะของการดำเนินงานในการประมวลผลมีดังนี้
1.  Manual Data processing        มนุษย์เป็นหลักในการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่ รับ แปลง และจัดข้อมูล
2.   Electronic Data processing   เป็นการประมวลผลแบบอัตโนมัติควบคุมด้วยหน่วยประมวลผลกลาง

ช่วงเวลาในการประมวลผล ประกอบด้วย
1.การประมวลผลแบบ  Batch     เก็รวบรวมบข้อมูลให้มากพอถึงเวลาที่กำหนดจึงทำการประเมินผล
2.การประมวลผลแบบ Online     เป็นการประมวลผลทันทีที่รับข้อมูลเข้ามา เช่น เครื่อง ATM
3.การประมวลผลแบบ Realtime เป็นการประมวลผลทันทีที่เกิดข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ไม่มีผู้ป้อนข้อมูล


 แนวคิดการบริหารจัดการในองค์กรยุคสารสนเทศ

นวัตกรรมระบบสารสนเทศแบ่งออกได้ 3 ระยะ
1.   ประดิษฐ์คิดค้น
2.   การพัฒนา
3.   การนำระบบสารสนเทศไปใช้
การจัดการแนวใหม่ในยุคสารสนเทศ
1.   ต้องมีระบบการจัดการที่ดี
2.   มีการจัดการโครงสร้างองค์กรที่คล่องตัว โดยมี IT ช่วยในการสับสนุนการบริหาร บริการและดำเนินงาน
3.   การเสริมอำนาจคนงานให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันโดยพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน

โครงสร้างองค์กรสารสนเทศ

แบ่งตามบทบาทหน้าที่ 4 ระดับได้แก่ 
1.  บุคลาการระดับปฏิบัติการ
2.  ผู้บริหารระดับต้น
3.  ผู้บริหารระดับกลาง
4.  ผู้บริหารระดับสูง


ระบบสารสนเทศในองค์กร

1.   ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Systems: TPS)
      บุคคลระดับปฏิบัติการนำข้อมูลมาตรวจสอบก่อนที่จะนำเข้าสู้ระบบ
 2.   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
      ผู้บริหารระดับต้นนำสารสนเทศมาใช้
3.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
      ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์แล้วส่งต่อให้ผู้บริหาร
4.    ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS /  ESS)
       ช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.    ระบบเชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (Expert Systems: ES)
       จัดทำข้อมูล และประมวลผลเลียนแบบสมอง
6.     ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS)
       สำนักงานอัตโนมัตทำงานร่วมกับอุปกรณ์พ่วง คอมพิวเตอร์

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
การบริหารอาชีวศึกษามีภารกิจหลักดังนี้
1.   บริหารงานบุคลากร  การคัดเลือกคนเข้าทำงาน
2.   บริหารงานธุรการ งานสารบรรณ งานพัสดุ  และหนังสือเวียน
3.   บริหารการเงินและการบัญชี
4.   บริหารงานวิชาการ  การฝึกอบรม การเก็บข้อมูลนักเรียน
5.   บริหารแผนงานประกันคุณภาพ  และประกันคุณภาพในรูป ISO
     

       การเรียนในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักระบบการจัดการสาารสนเทศมากยิ่งขึ้นโดยอาจารย์ได้มีการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจชัดเจนมากขึ้น โดยเนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างเยอะ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น