วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม

MIS มีความสำคัญกับอาชีวศึกษาอย่างไร 
 
ตาม พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 “การอาชีวศึกษา” หมายถึง กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี  และพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้น MIS จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคล มีระบบพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีการใช้ ICT ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนการเรียนรู้อาชีวศึกษา บริหารจัดการอาชีวศึกษาและให้บริการทางอาชีวศึกษา


 
วิเคราะห์สภาพปัญหาMIS ที่เกิดกับ สอศ.

1. ด้านระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
-   ต้องใช้เวลาในการดาเนินงาน
-   การกระจายของระบบย่อย ขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
-   ข้อมูลบางอย่างยังไม่เป็นสารสนเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้
-   ขาดการประสานงานในแต่ละหน่วยงานร่วมกัน
-   ความซ้าซ้อนของข้อมูล
-   ยังไม่มีข้อมูลที่สนองตอบความต้องการแต่ละหน่วยงานอย่างเพียงพอ
2. ด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในปัจจุบัน
3. ด้านความต้องการระบบสารสนเทศ



จงอธิบายกระบวนการทำงาน
ของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

 
 
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
 

มีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้ เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

 
 
 
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

                               
                                     ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนหารทำงานหลักๆดังนี้
 
ขั้นตอนที่ 1 : การนำข้อมูลเข้า (Input)  
เป็นการนำข้อมูลดิบ(Data)ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลให้เป็นสารสนเทศ
 
ขั้นตอนที่ 2 : .การประมวลผลข้อมูล (Process) 
เป็นการคิด คำนวน หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดเป็นรูปแบบ และการเปรียนเทียบ ตัวการประมวลผล
 
ขั้นตอนที่ 3 : .การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
 
ขั้นตอนที่ 4 : การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึง นำไปประมวลผล หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบ กับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น