วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 5

อนุทินครั้งที่ 5
( 23 มกราคม 2555 )

ประเภทของคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


 >> ประเภทของคอมพิวเตอร์ << 


แบ่งตามลักษณะข้อมูล 

คอมพิวเตอร์อนาลอก (Analog Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ประมวลผลแบบต่อเนื่อง อยู่ในรูปความถี่ต่อเนื่องแต่ไม่คงที่  

คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) 
เ้ป็นคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบไม่ต่อเนื่อง เป็นข้อมูลสามารถนับได้แน่นอนนับทีละ 1 หน่วย   

คอมพิวเตอร์ไฮบริด (Hybrid Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์อนาลอกและคอมพิวเตอร์ดิจิตอล ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม 

แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน  

คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป (General - Purpose Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามรถใช้กับงานหลายด้านในเครื่องเดียวกัน 

คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน (Special - Purpose Computer) 
เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานเฉพาะงานใดงานหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 

แบ่งตามขนาด 

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)     

มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) 

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

       




  >> องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ <<


ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
       มี 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยความจำสำรอง


                                                                  ซอฟต์แวร์ (Software) 
          ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ส่งให้หน่วยย่อยๆในฮาร์ดแวร์ทำงานโดยชุดคำสั่งถูกเขียนด้วยโปรแกรมภาษา ที่เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์รู้จักและเข้าใจซอฟแวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของหน่วยงานต่างๆในฮาร์ดแวร์ให้ทำงานประสานกัน

ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานไว้แล้ว เช่น สามารถนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้งานของตนเองได้


บุคลากร (Peopleware) 

     ประกอบด้วย 3 ฝ่ายงาน คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง สามารถตรวจสอบได้ เป็นส่วนที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างสารสนเทศ Human Error, Data Error, Program Logic Error


ขั้นตอนของกระบวนการ (Procedure
ขั้นตอนการเข้าลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนการเข้าระบบประเมินผลการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้บริการจองใช้ทรัพยากรอาคารเรียนรู้ สำนักห้องสมุด มก. การสื่อสารข้อมูล


ระบบเครื่อข่าย (Data Communications and Network System) 
เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลางจะเชื่อมต่อผ่านช่องทางการสื่อสารอาจเป็นแบบใช้สายหรือไร้สาย ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูลด้วยช่องทางโทรคมนาคม เครือข่าย (Network) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ เครือข่ายระยะใกล้ (LAN) เครือข่ายระหว่างเมือง (MAN) และเครือข่ายระยะไกล (WAN)





คำถาม
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้างและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีทั้งหมด 6 ส่วนได้แก่

1. ฮาร์ดแวร์
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คำนวณ หรือพิมพ์รายงานได้ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนืองสามารถบันทึกแล้วเรียกกลับมาใช้ได้อีก 

2. ซอฟต์แวร์
 คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์กำหนด คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 

3.บุคลากร
 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมาก เพราะบุคลากรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

4. ข้อมูล 
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันอย่างไร ขึ้นกับสารสนเทศที่เราต้องการ เช่น ในการทำงานบริษัทมักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน คู่แข่งขัน ความต้องการทางการตลาด 

5. ขั้นตอนกระบวนการ 
เป็นวิธีการปฏิบัติงาน เช่นอย่างการที่เราต้องการประเมินการเรียนการสอนทางอินเตอร์เน็ต เราก็ต้องเข้าระบบประเมิน แล้วก็ทำการประเมิน  

6. เครือข่าย  
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้ช่องทางต่าง ๆเช่น เครือข่ายไร้สาย โทรคมนาคม

โดยทั้ง 6 ส่วนจะทำงานสัมพันธ์กันโดยการทำงานของระบบสารสนเทศจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น