วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 9

อนุทินครั้งที่ 9
( 5 มีนาคม 2555) 

 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย 

      การสื่อสารข้อมูลหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างการสื่อสารได้แก่ Work Station Modem Public Telephone Network Modem และ Server


     ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล มีทั้งการสื่อสารทางเดียว เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ หนังสือ วิทยุ การสื่อสารแบบ  Half Duplex คือ สลับหน้าที่กันในการสื่อสารและการสื่อสารสองทาง เช่นการคุยโทรศัพท์ video conference และการรับส่ง E-mail

       สัญญาณ แบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบอนาล็อคเป็นสัญญารที่มีความต่อเนื่องค่าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความถี่ และแบบดิจิตอลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยประเภทในการส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบขนานจะทำการส่งเป็นชุด ๆและแบบอนุกรม ( Serial Transmission ) จะส่งทีละ 1 บิต   สำหรับสาเหตุที่ทำให้การสื่อสารล้มเหลวได้แก่ มีการรบกวน มีการหน่วง สื่อผิดพลาด ความเข้มของสัญญาน และพื้นที่ในการรับส่ง

 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 

ให้บริการสะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้าไปเลือกดูและซื้อขายได้โดยง่าย
ประเภทของ e-commerceได้แก่ 

business to business (b2b) เป็นการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนนำไปผลิต

business to consumer (b2c) เป็นการสั่งซื้ออนไลน์ ส่งให้ถึงที่

business to goverment (b2g) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ

consumer to consumer (c2c)


 ประโยชน์ในการสร้างโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

1. เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
3. เพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
4. เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงของการทำงาน
5. เพื่อควบคุมจัดสรรทรัพยากร



 การบ้าน 

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) 
แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)

เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันแต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิตเอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้
ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit)
 ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส คือค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) การรับส่งอีเมล์ หรือบล็อค
      

 2. แบบซิงโครนัส (synchronous transmission)

เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง โดยต้องทำณ เวลานั้น โดยทำพร้อมกัน เช่น การแชท และการประชุมผ่าน Video Conferene การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมากและทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วใน
การส่งข้อมูล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น