วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่  3
 ( 9 มกราคม 2555 )
         สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในวันนี้คือเรื่อง ระบบสารสนเทศในองค์กร
 โดยในองค์กรต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) 
การบริหารจัดหารประกอบด้ว 4 M ได้แก่
man                 =   มนุษย์
management  =   การจัดการ
money            =   เงิน
material          =    เครื่องมือ

องค์กร    คือ   ส่วนประกอบของหน่วยใหญ่ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นตรงต่อกัน
องค์การ  คือ   ศูนย์กลางของกิจการที่รวมกันขึ้นเป็นหน่วยใหญ่ หรือหลายๆองค์กรรวมกันเป็นองค์การ

       ได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศ ความแตกต่างของข้อมูลกับสารสนเทศ และประเภทของการประมวลผลข้อมูลโดย

ลักษณะของการดำเนินงานในการประมวลผลมีดังนี้
1.  Manual Data processing        มนุษย์เป็นหลักในการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่ รับ แปลง และจัดข้อมูล
2.   Electronic Data processing   เป็นการประมวลผลแบบอัตโนมัติควบคุมด้วยหน่วยประมวลผลกลาง

ช่วงเวลาในการประมวลผล ประกอบด้วย
1.การประมวลผลแบบ  Batch     เก็รวบรวมบข้อมูลให้มากพอถึงเวลาที่กำหนดจึงทำการประเมินผล
2.การประมวลผลแบบ Online     เป็นการประมวลผลทันทีที่รับข้อมูลเข้ามา เช่น เครื่อง ATM
3.การประมวลผลแบบ Realtime เป็นการประมวลผลทันทีที่เกิดข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ไม่มีผู้ป้อนข้อมูล


 แนวคิดการบริหารจัดการในองค์กรยุคสารสนเทศ

นวัตกรรมระบบสารสนเทศแบ่งออกได้ 3 ระยะ
1.   ประดิษฐ์คิดค้น
2.   การพัฒนา
3.   การนำระบบสารสนเทศไปใช้
การจัดการแนวใหม่ในยุคสารสนเทศ
1.   ต้องมีระบบการจัดการที่ดี
2.   มีการจัดการโครงสร้างองค์กรที่คล่องตัว โดยมี IT ช่วยในการสับสนุนการบริหาร บริการและดำเนินงาน
3.   การเสริมอำนาจคนงานให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันโดยพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน

โครงสร้างองค์กรสารสนเทศ

แบ่งตามบทบาทหน้าที่ 4 ระดับได้แก่ 
1.  บุคลาการระดับปฏิบัติการ
2.  ผู้บริหารระดับต้น
3.  ผู้บริหารระดับกลาง
4.  ผู้บริหารระดับสูง


ระบบสารสนเทศในองค์กร

1.   ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Systems: TPS)
      บุคคลระดับปฏิบัติการนำข้อมูลมาตรวจสอบก่อนที่จะนำเข้าสู้ระบบ
 2.   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
      ผู้บริหารระดับต้นนำสารสนเทศมาใช้
3.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
      ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์แล้วส่งต่อให้ผู้บริหาร
4.    ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS /  ESS)
       ช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.    ระบบเชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (Expert Systems: ES)
       จัดทำข้อมูล และประมวลผลเลียนแบบสมอง
6.     ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS)
       สำนักงานอัตโนมัตทำงานร่วมกับอุปกรณ์พ่วง คอมพิวเตอร์

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
การบริหารอาชีวศึกษามีภารกิจหลักดังนี้
1.   บริหารงานบุคลากร  การคัดเลือกคนเข้าทำงาน
2.   บริหารงานธุรการ งานสารบรรณ งานพัสดุ  และหนังสือเวียน
3.   บริหารการเงินและการบัญชี
4.   บริหารงานวิชาการ  การฝึกอบรม การเก็บข้อมูลนักเรียน
5.   บริหารแผนงานประกันคุณภาพ  และประกันคุณภาพในรูป ISO
     

       การเรียนในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้จักระบบการจัดการสาารสนเทศมากยิ่งขึ้นโดยอาจารย์ได้มีการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจชัดเจนมากขึ้น โดยเนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างเยอะ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

คำถาม   : มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษาหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  :  มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษา
       

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 
มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
       

หมวด 6 
       
        กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยแยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน  และการประกันคุณภาพภายนอก  การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องภายในของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำเองโดยความ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่การประกันคุณภาพเป็นการดำเนินงานโดย หน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ  และมีความเป็นกลาง  และมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินเปรียบเทียบมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและ ดำเนินการเปรียบเทียบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น
          ตัวชี้วัดที่จะวัดมาตรฐานการศึกษาและกระบวนการประเมิน  เป็นสาระสำคัญที่หน่วยงานประเมินและประกันภายนอกจะต้องดำเนินการต่อไปใน อนาคตเมื่อได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนี้ในระดับกระทรวง  แต่หมวดนี้จะยังไม่กล่าวถึงโดยจะกล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพดังกล่าว  และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้เท่านั้น
 รายละเอียดดังในมาตรา ต่อไปนี้
       
มาตรา 47
ให้ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก
       
มาตรา 49 
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำ หน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการ ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน คำว่ามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน  หมายความว่า จะต้องจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเป็นองค์กรมหาชน  ซึ่งมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน วางหลักเกณฑ์การจัดตั้ง  และกำหนดสถานภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระขององค์กรประเภทนี้องค์กรนี้ทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงเกณฑ์ของ "มาตรฐาน"  และจะต้องมีรายละเอียดของตัวชี้วัดด้วย
       
  ในพระราชบัญญัติกล่าวถึงมาตรฐานไว้ดังนี้

มาตรา 33 
สภาการศึกษาฯมีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ซึ่งจะเป็นมาตรฐานระดับกว้าง  
ครอบคลุมทุกระดับ

มาตรา 34
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีหน้าที่พิจารณาเสนอ"มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาในมาตรา 33 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็มีหน้าที่พิจารณา "มาตราฐานอุดมศึกษา"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาฯ
ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานตามมาตรา 49 เป็นบทบาทหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับหน่วยงานตามมาตรา33 และมาตรา 34
การกำหนด "มาตรฐาน" ดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับใดจะต้องสอดคล้องกับ
"ความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้"ในวรรค 2 ของมาตรา 49 กำหนดให้สำนักงานประเมินคุณภาพภายนอก
ทุกๆ 5 ปีและรายงาน

มาตรา 50
ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือ หน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษานั้น


มาตรา 51
ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับ ปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข





 แหล่งที่มา  http://www.moobankru.com/knowledge1.html

Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา 
Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) 

ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทั้งหมด 16 ข้อ

1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4.   ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
      พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.   ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
      งานอาชีพของตนเองได้
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.   ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
        บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง
11.   ต้องให้ข้อมูลความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพและต้องมาจากประสบการณ์ของ
         ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
         นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
         เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
         โดยรวมต่อสังคม
14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
          ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
          มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า



โดยนำหลักทั้ง 16 หลักมาจัดเข้ากระบวนการ Input Process และ Output ได้ดังนี้  


Input

4.    ต้องคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
       พัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5.    ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนา
       งานอาชีพของตนเองได้
7.    ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอนทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ
       และความรู้
9.    ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพ      
       บางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11.   ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของ
        ผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12.   ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพ
        นั้นๆเนื่องจากในทุก ๆสาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.   ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ
        เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดี
        โดยรวมต่อสังคม
16.    ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน
         ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ
         มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า




Process


1.   ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.   ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง
       และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.   ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
       กับแต่ละสาขาอาชีพโดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6.   ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่
      จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8.    ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ
       ของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10.  ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัด
        จำลอง



Output

14.   ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ละคนที่เหมาะสมกับการ
         เรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการ
         แนะแนวที่เหมาะสม
15.   ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่
         ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา




ที่มา :  http://ltt.edu.ku.ac.th/LTT4/22Ebook/MIS_pdf/B2.pdf

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบเชิงบวกและลบของคอมพิวเตอร์

 ผลกระทบที่เป็นเชิงบวก
- ช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

- ช่วยในด้านของการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล และประมวลผล

- คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเรื่องการเรียนรู้และพัฒนางานด้านต่าง ๆ

- ทำให้มนุษย์ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันต่ิิอข้อมูลข่าวสาร และทันโลก 

- ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

- ช่วยให้มนุษย์เกิดความสะดวกสบายต่อการทำสิ่งต่างๆ

- พัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น 

- ช่วยให้การเรียน การทำงาน ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

- เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม

- สามารถช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

- ให้ความบันเทิงช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง

 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆได้แก่

1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน


4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น

5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น



  ผลกระทบที่เป็นลบ

- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่างๆ

- ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมลง 

- ทำให้เกิดความขัดแย้ง

- ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านข้อมูล

- ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์

- ทำให้มนุษย์ยึดติดแต่ความสะดวกสบาย



ที่มา   http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/athiga_p/com_p5
         /com01p03.html
          http://guru.sanook.com/answer/question/ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์/

กิจกรรมอภิปรายกลุ่ม

MIS มีความสำคัญกับอาชีวศึกษาอย่างไร 
 
ตาม พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 “การอาชีวศึกษา” หมายถึง กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี  และพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้น MIS จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคล มีระบบพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีการใช้ ICT ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนการเรียนรู้อาชีวศึกษา บริหารจัดการอาชีวศึกษาและให้บริการทางอาชีวศึกษา


 
วิเคราะห์สภาพปัญหาMIS ที่เกิดกับ สอศ.

1. ด้านระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
-   ต้องใช้เวลาในการดาเนินงาน
-   การกระจายของระบบย่อย ขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
-   ข้อมูลบางอย่างยังไม่เป็นสารสนเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้
-   ขาดการประสานงานในแต่ละหน่วยงานร่วมกัน
-   ความซ้าซ้อนของข้อมูล
-   ยังไม่มีข้อมูลที่สนองตอบความต้องการแต่ละหน่วยงานอย่างเพียงพอ
2. ด้านการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในปัจจุบัน
3. ด้านความต้องการระบบสารสนเทศ



จงอธิบายกระบวนการทำงาน
ของระบบสารสนเทศกับลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

 
 
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
 

มีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้ เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

 
 
 
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

                               
                                     ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนหารทำงานหลักๆดังนี้
 
ขั้นตอนที่ 1 : การนำข้อมูลเข้า (Input)  
เป็นการนำข้อมูลดิบ(Data)ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลให้เป็นสารสนเทศ
 
ขั้นตอนที่ 2 : .การประมวลผลข้อมูล (Process) 
เป็นการคิด คำนวน หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดเป็นรูปแบบ และการเปรียนเทียบ ตัวการประมวลผล
 
ขั้นตอนที่ 3 : .การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
 
ขั้นตอนที่ 4 : การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึง นำไปประมวลผล หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบ กับสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อนุทินครั้งที่ 2

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในวันนี้

 
องค์ประกอบของระบบแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ได้แก่

 1)  องค์ประกอบในระบบ   
       
      
    ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3  ส่วน  ดังนี้
                 
-  ปัจจัยนำเข้า  (Input)  อาจได้แก่วัสดุ  อุปกรณ์  วัตถุดิบ  แรงงาน  เงินทุน  ทรัพยากรต่างๆ  
    รวมไปถึง  เวลาและสถานที่
-  กระบวนการ  (Process)  ได้แก่  เทคนิควิธี  ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ  ตั้งแต่ต้นจนจบ
-  ผลที่ได้รับหรือผลผลิต  (Output)  เป็นผลที่ได้รับจากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการทั้งหมด  ผลผลิต
   เป็นสิ่งที่ต้องการในขั้นสุดท้ายของระบบ  ผลผลิตอาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆอย่างรวมกัน 
               
     ในระบบจะต้องมีการตรวจสอบอยู่ทุกขั้นตอน  เรียกว่า  Feedback  หรือข้อมูลย้อนกลับ  ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าแต่ละขั้นตอนดี  หรือไม่ดีเพียงใด  อย่างใด  ตัวอย่างเช่น  ในกรรมวิธีการผลิต  ถ้าในด้านปัจจัยนำเข้าหรือ  Input  ต้องมีการตรวจสอบดูว่าวัตถุดิบที่ใช้  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่  อาจรวมไปถึงกรรมวิธีในการสั่งซื้อวัตถุดิบ  การเก็บรักษา  การขนส่ง  เป็นต้น  ในด้านกระบวนการผลิตอาจจะต้องตรวจสอบดูสูตรการผลิต  การทำงานของเครื่องจักร  การแบ่งหน้าที่ทำงาน  การมอบหมายความรับผิดชอบ  วิธีสั่งการ  การควบคุม  การรายงานเป็นต้น  สำหรับด้านผลผลิตนั้นต้องตรวจสอบดูว่าผลผลิตที่ได้  มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการหรือไม่  ตรงกับความต้องการของตลาดแล้วหรือยัง  ยังมีส่วนจะต้องปรับปรุง  พัฒนาขึ้นอย่างไร  ดังนี้เป็นต้น

2)  องค์ประกอบที่อยู่อกระบบ
              
-   ทรัพยากร  ได้แก่  ปัจจัยด้านมนุษย์  เงิน  วัสดุ  ทรัพยากรธรรมชาติ
-   ความคาดหวัง  ได้แก่  ความคาดหวังของผู้ผลิต  ของลูกค้า  พ่อค้า  รัฐบาล  ชุมชน  ตลอดจน 
     ประชาชนทั่วไป
-   สภาพแวดล้อม  เช่น  ภาวะการตลาด  ภาวะเศรษฐกิจ  เทคโนโลยี  การปกครอง  การเมือง 
     และสังคม 
 
ประโยชน์และความสำคัญของการนำแนวคิดเชิงระบบไปใช้ในการปฏิบัติงาน

- แนวคิดเชิงระบบเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  และสามารถมองเห็น  กระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม  เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนกับทีมงาน  
  ได้กระจ่างชัด  ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย  หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในมุมมองที่กว้าง 
- ทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น  หรือสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่  ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากระบบ  จะทำให้
  สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที  ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยาว
- ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  มีความถูกต้อง  ประหยัดค่าใช้จ่าย  ทันตามเวลาที่
   กำหนดและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
 
 
 
 
 
 
ข้อเสนอแนะ
เนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างเยอะและเป็นภาษาอังกฤษทำให้ข้าพเจ้าไม่ค่อยเข้าใจและตามไม่ทัน

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


สำนึกดี      
มีจิตใจที่ดีงามีความซื่อสัตย์สุจรติ มีคุณธรรม มีจริยธรรม

มุ่งมั่น         
มีความตั้งใจมั่น มีความอดทน มีความวิริยะอุตสาหะ มุ่งผลสัมฤทธิ์ ในการทำงาน
และในการปฏิบัติใดๆ
 

สร้างสรรค์  
เป็นผู้ใฝ่รู้ มีความขวนขวายแสวงหาความรู้ มีความสามารถในการสร้างมูลค่า
และคุณค่าจากความรู้มีการสร้างนวัตกรรม
 

สามัคคี       
มีความร่วมมือร่วมใจ รู้จักประนีประนอม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถบูรณาการ
เชื่อมโยงในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อันเป็นแหล่งรวมของบุคลากรและองค์ความรู้ 

ศาสตร์แห่งแผ่นดิน        
ความหลากหลาย ของสาขาวิชาอันเป็นบูรณาการเกี่ยวข้องกับการเกษตร 
ธรรมชาติ และมนุษย์บนผืนแผ่นดิน
 

ความกินดีอยู่ดีของชาติ       
ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งของสังคม  ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
และความมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความมั่นคงด้านอาหาร ของชาติ 
ซึ่งหมายความครอบคลุมถึง ประชาชนและผืนแผ่นดิน




 

 อัตลักษณ์และเอกลักษณ์คณะศึกษาศาสตร์

 
 อัตลักษณ์คณะศึกษาศาสตร์

สำนึกดี       หมายถึง    มีความซื่อสัตย์ พอเพียงและมีวินัย

มุ่งมั่น        หมายถึง    สู้งาน

สร้างสรรค์     หมายถึง    ใฝ่รู้ พัฒนาวิชาชีพ

สามัคคี       หมายถึง    ร่วมมือร่วมใจ


เอกลักษณ์คณะศึกษาศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู เชี่ยวชาญการสอน และการวิจัย



ที่มา : http://www.eco.ku.ac.th/document/IDKU54.pdf
             http://www.edu.ku.ac.th/index.asp
         

อนุทินครั้งที่ 1

ในคาบแรกยังไม่สามารถ add วิชานี้ได้ค่ะจึงไม่ได้เข้าเรียน

ความหมายของ MIS

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)

          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MIS จะประ กอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ

1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกัน
    อย่างเป็นระบบ  
2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วย
    สนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร

        
            ปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์การไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ ปัจจุบันธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศที่มีศักยภาพ สูงขึ้นเพื่อสร้าง MIS ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถของธุรกิจ และขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบัน แต่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือคน ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในศักยภาพและขอบเขตของการใช้งานระบบสารสนเทศ (MIS) นอกจากนี้บุคลากรบางส่วนที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศ ไม่ยอมเรียนรู้และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง จึงให้ความสนใจหรือความสำคัญกับการปรับตัวเข้ากับ MIS น้อยกว่าที่ควร


 

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศได้แก่
1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้าง
    พื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ

        1.1 ฐานข้อมูล (Data Base)
         ฐานข้อมูล จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 
         1.2 เครื่องมือ (Tools)
              เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
              เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูลซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้              
              1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) 
                      คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
              1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) 
                      คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงาน 
                      หรือการตัดสินใจ

2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผน
    งานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ
 
3. การแสดงผลลัพธ์ เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้ สารสนเทศ หรือMIS 
    เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมี 
    ประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน

 
ที่มา http://chanapon1984.exteen.com/20090803/mis



DATA หมายถึง ข้อมูล
เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร ก่อนที่จะมีการจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่คนเข้าใจหรือสามารถนำไปใช้งานได้
 
INFORMATION หมายถึง สารสนเทศ
เป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและการจัดการแล้วให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายหรือเป็นประโยชน์ต่อคนหรือองค์กร

ที่มา http://accsriphat.blogspot.com/2011/12/blog-post_16.html


" ความรู้ที่ได้รับ "

MIS       
คือระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก
องค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วย
สนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงาน
ขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
DATA   
เป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลไม่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้
 
INFORMATION   
ได้ผ่านการประมวลผลและการจัดการแล้วให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายหรือ
เป็นประโยชน์ต่อคนหรือองค์กร สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้

DATA VS INFORMATION     
แตกต่างกันตรงที่สารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ 
เพราะได้ผ่านการประมวลผลแล้ว