วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

อนุทินครั้งที่ 10

อนุทินครั้งที่ 10
( 12 มีนาคม 2555) 

 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 

 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
  • ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรและอุปกรณ์) 
  • ซอฟต์แวร์ 
  • ข้อมูล
  • บุคลากร
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
  • การสื่อสารข้อมูลและระบบเครื่องข่าย

  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ  

1.ฝ่ายวิเคาระห์และออกแบบระบบ
ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ   เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ และเจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล 

2.ฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ได้แก่ นักเขียนโปรแกรม 

3.ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ ได้แก่  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล   เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาเครื่อง 
และเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือตอบคำถาม


  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศแบ่งตามตำแหน่งงาน  
  •   ผู้บริหารสารสนเทสองค์กร
  •   ผู้อำนวยการศูนย์ computer
  •   หัวหน้าโครงการ
  •   นักวิเคราะห์
  •   นักเขียนโปรแกรม
  •   ผู้จัดการปฏิบัติการcomputer
  •   พนักงานปฏิบัติการcomputer
  •   พนักงานจัดเวลาการใช้เครื่อง
  •   พนักงานกรอกข้อมูล


  การบ้าน  


1.      อาชีพที่หายไปในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  นักพิมพ์ดีด คือพนักงานพิมพ์ข้อมูลด้วยเครื่องพิมพ์ดีด

2.       อาชีพใหม่ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ   นักเขียนโปรแกรม 



อนุทินครั้งที่ 9

อนุทินครั้งที่ 9
( 5 มีนาคม 2555) 

 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย 

      การสื่อสารข้อมูลหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างการสื่อสารได้แก่ Work Station Modem Public Telephone Network Modem และ Server


     ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล มีทั้งการสื่อสารทางเดียว เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ หนังสือ วิทยุ การสื่อสารแบบ  Half Duplex คือ สลับหน้าที่กันในการสื่อสารและการสื่อสารสองทาง เช่นการคุยโทรศัพท์ video conference และการรับส่ง E-mail

       สัญญาณ แบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบอนาล็อคเป็นสัญญารที่มีความต่อเนื่องค่าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความถี่ และแบบดิจิตอลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยประเภทในการส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบขนานจะทำการส่งเป็นชุด ๆและแบบอนุกรม ( Serial Transmission ) จะส่งทีละ 1 บิต   สำหรับสาเหตุที่ทำให้การสื่อสารล้มเหลวได้แก่ มีการรบกวน มีการหน่วง สื่อผิดพลาด ความเข้มของสัญญาน และพื้นที่ในการรับส่ง

 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 

ให้บริการสะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้าไปเลือกดูและซื้อขายได้โดยง่าย
ประเภทของ e-commerceได้แก่ 

business to business (b2b) เป็นการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนนำไปผลิต

business to consumer (b2c) เป็นการสั่งซื้ออนไลน์ ส่งให้ถึงที่

business to goverment (b2g) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ

consumer to consumer (c2c)


 ประโยชน์ในการสร้างโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

1. เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
3. เพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
4. เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงของการทำงาน
5. เพื่อควบคุมจัดสรรทรัพยากร



 การบ้าน 

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) 
แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission)

เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันแต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิตเอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้
ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit)
 ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส คือค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) การรับส่งอีเมล์ หรือบล็อค
      

 2. แบบซิงโครนัส (synchronous transmission)

เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง โดยต้องทำณ เวลานั้น โดยทำพร้อมกัน เช่น การแชท และการประชุมผ่าน Video Conferene การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมากและทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วใน
การส่งข้อมูล





อนุทินครั้งที่ 8

อนุทินครั้งที่ 8
( 27 กุมภาพันธ์ 2555) 

ระบบฐานข้อมูล (Database System)

     โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกันระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย



 ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมโดยการสังเกต จดบันทึก สัมภาษณ์ สอบถาม เป็นข้อมูลดิบที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกระทำเชิงการจัดการได้ การรวบรว
มามักไม่มีระเบียบและซ้ำซ้อนของข้อมูล


ฐานข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ และสามารถที่จะนำข้อมูลนั้น
ออกมาใช้ร่วมกันได้โดยไม่มีการซับซ้อนของข้อมูล


บิท (Bit)  คือหน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด


ไบท์ (Byte)   คือหน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)


เขตข้อมูล (Field)   คือหน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้ว
ได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 


ระเบียน (Record)  หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 


แฟ้มข้อมูล (File)  คือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลายๆระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน 






รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ


1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน


2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน 


3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร






ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล


1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง


2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)


3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย


4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น


5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ


6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม


7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง





ตัวอย่างฐานข้อมูล

         ฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด ฐานข้อมูลบัญชีธนาคาร  ฐานข้อมูลการลงทะเบียน ฐานข้อมูลATM
ฐานข้อมูลมือถือ ฐานข้อมูลในองค์กรได้แก่ ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลการฝึกอบรม
ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลผู้จัดส่ง ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลการขาย และฐานข้อมูลบัญชี 




อนุทินครั้งที่ 7

อนุทินครั้งที่ 7
( 13 กุมภาพันธ์ 2555)

Software
  ซึ่่งประกอบไปด้วย  


1. Software แบบเฉพาะด้าน ซึ่งไม่มีจำหน่ายทั่วไป  ได้แก่
    ซอฟท์แวร์ขององค์กรต่างๆ ธนาคาร มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล กรมสรรพกร การไฟฟ้า การประปา 
    สถานทูต หรือใช้ในการทำธุรกิจเช่น e-ticket และ e-book ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดสรรระบบการ   
    ทำงานให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ


2. Software แบบทั่วไป ประกอบด้วย
     - Microsoft office ได้แก่   Microsoft  Word   
                                              Microsoft  PowerPoint
                                              Microsoft  Excel 
                                              Microsoft  Outlook 
                                              Microsoft  Access
     
      - Graphics  ได้แก่   photoscape    photoshop    และ illustrator
     
      - Website  ได้แก่  Dreamweaver และ  Director

      - ด้านการสื่อสาร ได้แก่ Line  Viber  และ  Whatapps


            สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้้และจะนำไปประยุกต์ใช้ในวันนี้้คือ เรื่องของการคิดเลขโดยใช้สูตร 

การทำคะแนนและการตัดเกรดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ โดยในวันนี้อาจารย์นงลักษณ์

เป็นผู้สอนทำให้นิสิตมีความตื่นตัวตลอดเวลา มีการพูดคุยถามตอบกระตุ้นให้นิสิตได้แสดงความ

คิดเห็นได้เป็นอย่างดี